ครอบฟัน & สะพานฟัน

การครอบฟัน

ครอบฟัน มีประโยชน์ในการบูรณะฟันที่ได้รับความเสียหายจากหลากหลายสาเหตุ เช่น จากการที่มีฟันผุ แตกหัก ฟันบิ่น หรือใช้ครอบฟันเพื่อปกปิดสีของฟัน นอกจากนี้ยังช่วยเสริมความแข็งแรงให้กับฟันที่รับการรักษารากฟัน และฟันที่มีรอยผุขนาดใหญ่มากๆ ให้กลับมาใช้งานได้ดังเดิม และยังช่วยเพิ่มความสวยงามให้กับฟันได้ด้วย

1500975602149

ประเภทของการครอบฟัน

  1. การครอบฟันแบบโลหะล้วน เป็นการครอบฟันที่ให้ความแข็งแรงได้ดีเหมาะกับการทำบริเวณฟันกราม เพราะสีของวัสดุจะมีสีเงินมองเห็นได้ชัดเจน จึงไม่เหมาะกับการทำที่ฟันนี้ รวมทั้งยังมีความแข็งแรงมากรองรับการใช้งานฟันกรามที่ใช้บดเคี้ยวอาหารได้เป็นอย่างดี รวมทั้งกระบวนการทำยังกรอเนื้อฟันออกไปน้อยอีกด้วย
  2. การครอบฟันแบบโลหะผสมทอง เป็นการครอบฟันโดยใช้ทองมาเป็นส่วนประกอบหลักที่มีความแข็งแรงมากกว่าวัสดุอื่นๆ เหมาะสำหรับการเคลือบฟันบริเวณฟันกราม ซึ่งข้อดีของการใช้โลหะผสมทองจะมีความยืดหยุ่นทำให้สามารถครอบได้แนบสนิทกว่าแบบโลหะล้วน แต่สีของวัสดุจะเด่นชัดกว่าการครอบฟันแบบอื่นๆ
  3. การครอบฟันด้วยเรซิน เป็นวัสดุที่มีความแข็งแรงน้อย มักจะใช้เป็นการครอบฟันชั่วคราวระหว่างการรักษาเท่านั้น
  4. การครอบฟันโลหะเคลือบเซรามิค ซึ่งเป็นการดึงเอาข้อดีของวัสดุ 2 ชนิดมารวมกัน ด้วยการนำความแข็งของโลหะมารวมกับการให้สีที่เหมือนฟันธรรมชาติของเซรามิคมาใส่ไว้ด้วยกัน เพื่อให้ได้ครอบฟันที่มีสีที่ดูเป็นธรรมชาติและได้ความแข็งแรงด้วย ข้อเสียของการครอบฟันชนิดนี้ต้องกรอเนื้อฟันออกไปมาก
  5. การครอบฟันเซรามิคล้วน เป็นการใช้วัสดุเซรามิกทั้งล้วนๆ ซึ่งมักจะทำที่บริเวณฟันหน้าที่ต้องการความสวยงาม และให้ความแข็งแรงได้ในระดับหนึ่ง ไม่สามารถทำที่ฟันกรามได้เพราะตัววัสดุรองรับการใช้งานหนักอย่างฟันกรามไม่ได้

การครอบฟัน เป็นการบูรณะฟันวิธีหนึ่งที่ได้ผลเป็นอย่างดี ให้ได้ทั้งความแข็งแรง ภาพลักษณ์ และการใช้งานฟันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะเจอปัญหาฟันแตก ฟันบิ่น สีของฟันไม่สวย หรือขนาดของฟันที่ไม่เท่ากัน การครอบฟัน สามารถช่วยปรับเปลี่ยนลักษณะของฟันให้ดูดีขึ้นได้ และยังมีผลถาวรไม่ต้องมากังวลเรื่องการผุ หรือสีของฟันที่อาจเปลี่ยน ดังนั้น การครอบฟัน จึงถือว่ามีประโยชน์ทั้งในเรื่องของหน้าที่การบดเคี้ยวอาหารและภาพลักษณ์ที่สวยงามของแต่ละบุคคลด้วย

สะพานฟัน

สะพานฟัน เป็นการทดแทนฟันที่เหมาะสำหรับคนที่มีช่องว่างของฟันไม่เกิน 2-3 ซี่เท่านั้น ไม่สามารถทำได้ทุกกรณีเหมือนกับฟันปลอมชนิดถอดได้ แต่เมื่อทำแล้วให้ความเป็นธรรมชาติ และใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่าฟันปลอมชนิดถอดได้

วัสดุที่ใช้ทำสะพานฟัน

การทำสะพานฟัน สามารถเลือกวัสดุที่ใช้ในการทำสะพานฟันได้หลายประเภท แต่ต้องขึ้นอยู่กับตำแหน่งที่สูญเสียฟันด้วย โดยมีวัสดุให้เลือกดังนี้

  • ประเภทเซรามิกผสมโลหะ จะให้สีสันที่เหมือนฟันจริง และมีความแข็งแรงทนต่อการบดเคี้ยว สามารถทดแทนฟันบริเวณที่ใช้งานหนักอย่างเช่นกรามได้
  • แบบเซรามิกล้วน ใช้ทดแทนฟันหน้า เพราะเซรามิกล้วนจะมีความใส สวยงามเหมือนฟันธรรมชาติ กว่าประเภทอื่นๆ
  • แบบโลหะล้วน (ทอง) เหมาะสำหรับฟันกราม เพราะสะพานฟันประเภทนี้มีความแข็งแรงและทนทานมากที่สุด ทนต่อการกัดกร่อนและบิ่นได้ดี ไม่แตกเหมือนเซรามิก แต่จะมีสีที่ไม่สวย มีผลต่อความสวยงามดูไม่เป็นธรรมชาติ

ข้อดี-ข้อเสียของการทำสะพานฟัน

ข้อดีของการทำสะพานฟัน

  • การปล่อยให้ฟันมีช่องว่าเป็นเวลานานๆ จะทำให้ฟันที่อยู่ด้านข้างล้ม เอียง เก จนทำให้ฟันทั้งหมดเสียโครงสร้าง ไม่สามารถบดเคี้ยวอาหารได้อย่างสมบูรณ์ และยังทำให้เกิดความไม่สวยงามอีกด้วย
  • ช่วยให้ผู้ทำมีความมั่นใจในการพูด การยิ้ม การรับประทานอาหาร เพราะไม่ต้องถอดๆ ใส่ๆ เหมือนกันปลอม และยังสามารถใช้งานได้ดีเหมือนฟันธรรมชาติอีกด้วย
  • อาจเป็นบ่อเกิดของเกิดของโรคเหงือก เพราะโดยธรรมชาติแล้ว ฟันแต่ละซี่จะช่วยเสริมและแบ่งเบาน้ำหนักซึ่งกันและกัน เอนผิงกันอย่างมีนัยสำคัญ เวลาบดเคี้ยวอาหาร เมื่อขาดฟันซี่ใดซี่หนึ่ง อาจทำให้แรงกดบริเวณนั้น กดลงสู่เหงือกและเนื้อเยื่อบริเวณช่องปากมากเกินไปอีกด้วย

ข้อเสียของการทำสะพานฟัน

  • ต้องกรอเนื้อฟันดีๆ ที่อยู่ด้านข้างออกไป เพื่อใช้เป็นหลักยึดสะพานฟัน
  • ราคาสูงกว่าฟันเทียมแบบถอดได้